ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นพายัพหรือ คำเมือง
เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิมมักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา
และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของ จังหวัดตาก สุโขทัยและ เพชรบูรณ์อีกด้วยนะคะคำเมือง มีไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแบบ
ทั้งนี้บางคำเราอาจจะสรรหามาไม่หมดแต่ก็จะนำคำที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้ในการศึกษามาให้ท่านได้อ่านกันคะ
ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นเหนือ
ภาคกลาง ภาคเหนือ
พุทรา บะตัน
กระเทียม หอมขาว , หอมเตียม
มะเขือเปราะ มะเขือผ่อย
พริกขี้หนู พริกแด้
แตงโม บะเต้า
มะพร้าว บะป้าว
ใบเตย หวานข้าวใหม่
ตำลึง ผักแคบ
ตะไคร้ จั๊กไค
ฝรั่ง บะก้วย , บะก้วยก่า
กะท้อน บะตื๋น , บะต้อง
ลูกหว้า บักเกี๋ยง
มะปราง บะฝาง
สนุก ม่วน
ใคร ไผ
ทำ เยียะ
เป็นไข้ ไม่สบาย , เมื่อย
ซื่อบื้อ สึ่งตึง
มะเขือเทศ บะเขือส้ม
กระเป๋า กะเลิบ
รองเท้า เกือก
นกพิราบ นกก๋าแก๋
ผีเสื้อ ก่ำเบ้อ
ปลาสวาย ปลาเต๊าะ
ปลาหมอ ปลาสะเด็ด
แมงปอ อีบี้
ขนมจีน ข้าวหนมเส้น
แก้วน้ำ แก้ว , ก๊อก , ก๊อกจอก
ช้อน จ้อน
ถังน้ำ น้ำคุ
กระท่อม ตูบ
ที่นอนฟูก สะลี
กะลา กะโล่ง
อิจฉา ขอย
อร่อยมาก ลำขนาด
เยอะแยะ เป่อเลอะ
โง่ ง่าว
ไม่อยากจะพูด ค้านปาก
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังหาข้อมูลเพื่อใช้สำหรับการศึกษานะคะ
คำว่าโมโหภาษาเหนือพูดว่ายังไงคะ
ตอบลบใจ๋ขึ้น
ตอบลบรมบ่าดี
ตอบลบโขด
ตอบลบOmg ให้ตายสิ
ตอบลบข้าพเจ้า
ตอบลบ